Aller au contenu

ถ้าต้องแต่งงานในฝรั่งเศส เริ่มต้นแบบนี้

ถ้าต้องแต่งงานในฝรั่งเศส เริ่มต้นแบบนี้

 

         การใช้ชีวิตร่วมกับคนรักชาวฝรั่งเศสทำได้แบบจดทะเบียนสมรสหรือแบบจด PACS ทั้งสองวิธีมีข้อดีและข้อเสียแตกต่างกันไป ทว่าในปัจจุบัน คู่รักหลายคู่นิยมจด PACS เพื่อลองใช้ชีวิตและเรียนรู้กันและกันก่อน เพนื่องจากสามรถขั้นตอนวิธีการจดและยกเลิกนั้นซับซ้อนน้อยกว่าในกรณีที่เกิดปัญหาชีวิตคู่ในอนาคต แต่การจดทะเบียนสมรสนั้นจะเป็นผลดีในการขอบัตรระยะยาวมากกว่า ก่อนที่จะไปสู่เอกสารและขั้นของการจดทะเบียนสมรส เรามาศึกษาข้อแตกต่างและข้อเหมือนกันของการสมรสทั้งสองแบบนี้กันก่อน ตามตารางดังต่อไปนี้

 

จดทะเบียนสมรส

จด PACS

ข้อเหมือนกัน

ใช้นามสกุลร่วมกันได้

ไม่สามารถใช้นามสกุลเร่วมกันได้

เป็นการสมรสที่คู่สมรสสามารถอยู่อาศัยร่วมกับแบบฉันสามีภรรยา

หากมีบุตร คู่สมรสเป็นบิดาและมารดาของบุตร

หากมีบุตร ผู้เป็นบิดาต้องยืนยันเพิ่มเติมว่าเป็นบิดาของบุตร

หนี้สินที่เกิดขึ้นระหว่างที่อยู่ร่วมกัน ต้องรับผิดชอบร่วมกัน

รับเด็กมาเป็นบุตรบุญธรรมได้

ไม่สามารถรับเด็กมาเป็นบุตรบุญธรรมได้

ภาษี (เช่น ภาษีที่อยู่อาศัย, ภาษีรายได้) ที่เกิดขึ้นระหว่างที่อยู่ร่วมกัน ต้องรับผิดชอบร่วมกัน

เมื่ออยู่อาศัยด้วยเป็นเวลา 4 ปีแล้ว สามารถทำเรื่องขอสัญชาติได้

ไม่มีสิทธิขอสัญชาติฝรั่งเศส

สิทธิลดหย่อนภาษี

ทรัพย์สินที่เกิดขึ้นหลังสมรส จะกลายเป็นสินสมรสทันที แต่สามารถทำสัญญาก่อนจดทะเบียนสมรสเพื่อระบุว่าจะขอมีทรัพย์สินแยกกัน

ทรัพย์สินที่เกิดขึ้นก่อนหรือหลังจด PACS แยกเป็นของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง แต่สามารถทำสัญญาก่อนจด PACS เพื่อระบุว่าจะขอมีทรัพย์สินร่วมกัน

หากคู่สมรสเป็นผู้ประกอบการ จะมีสิทธิจ้างเราให้มาทำงานเป็นพนักงานได้

หากคู่สมรสมีสัญญาเช่าที่อยู่อาศัยก่อนแต่งงาน เมื่อแต่งงานแล้ว ถือว่าทั้งคู่ถือสัญญาเช่าร่วมกัน

หากคู่สมรสมีสัญญาเช่าที่อยู่อาศัยก่อนจด PACS หลังจดแล้ว ถือว่าไม่ได้ถือสัญญาเช่าร่วมกัน

หากคู่สมรสเสียชีวิตหรือมีเหตุให้ทำงานไม่ได้ เรามีสิทธิได้รับเงินทดแทน

หากคู่สมรสเกิดเหตุฉุกเฉินจนตัดสินใจเองไม่ได้ ทนายสามารถแต่งตั้งเราให้มีอำนาจดำเนินการแทนทุกอย่าง

หากคู่สมรสเกิดเหตุฉุกเฉินจนตัดสินใจเองไม่ได้ เราต้องติดต่อทนายและทำเรื่องเพิ่มเติมเพื่อให้ได้รับสิทธิในการดำเนินการแทน

ได้รับผลประโยชน์ทางสิทธิประกันสังคมเทียบเท่ากับคู่สมรส

กรณีหย่าร้าง ต้องชำระหนี้สินที่เกิดขึ้นระหว่างการสมรส ต้องชดใช้ค่าเสียหายให้แก่คู่สมรส และดำเนินขั้นตอนซับซ้อนอื่น ๆ

หากหย่าร้าง ดำเนินการได้อย่างสะดวก เพียงชดใช้หนี้สินที่เกิดขึ้นร่วมกัน ไม่ต้องทำเรื่องต่าง ๆ เหมือนการจดทะเบียนสมรส

มีการระบุในสูติบัตรของคู่ชาวฝรั่งเศสว่ามีการสมรสเกิดขึ้น

ได้รับมรดกตกทอดในกรณีที่คู่สมรสเสียชีวิต

ไม่ได้รับมรดกตกทอดในกรณีที่คู่สมรสเสียชีวิต

 

แหล่งที่มา : https://www.justice.gouv.fr/art_pix/Pacs_ou_Mariage_171002_V6.pdf

 

การเตรียมเอกสารเพื่อแต่งงานในฝรั่งเศส

         แนะนำให้แฟนไปขอเอกสาร dossier de mariage ซึ่งแสดงรายการเอกสารที่ต้องเตรียมจากเขตที่อาศัยอยู่ เนื่องจากแต่ละเขตพื้นที่อาจมีเอกสารและขั้นตอนแตกต่างกันไป

 

         เอกสารราชการสำหรับชาวไทย

         เอกสารราชการทุกอย่างต้องได้รับการรับรอง (légalisation) โดยกรมการกรมการกงสุลเท่านั้น บางเขตอาจระบุว่าต้องได้รับการแปลในประเทศฝรั่งเศส โดยนักแปลที่ได้รับการรับรองจากศาลในประเทศฝรั่งเศสเท่านั้น แนะนำให้สอบถามกับเขตที่ท่านอาศัยอยู่เพื่อความถูกต้อง

 

  1. สำเนาหนังสือเดินทาง (photocopie de passeport)
  2. สำเนาสูติบัตร (photocopie d’acte de naissance) หรือ หนังสือรับรองการเกิด ทร. 20 (certificat d’acte de naissance Thor.Ror. 20) หรือ ทร. 1ก. (certificat d’acte de naissance Thor.Ror. 1 Kor.) : ท่านสามารถยื่นเอกสารใดเอกสารหนึ่งได้ แต่จะมีอายุไม่เกิน 6 เดือน ดังนั้น ท่านจะต้องวางแผนเรื่องกรอบเวลาให้ดี
  3. สำเนาทะเบียนบ้าน (photocopie de livret de famille) : ให้ถ่ายสำเนาเฉพาะหน้าแรกและหน้าที่แสดงชื่อของตัวเอง
  4. หนังสือรับรองสถานภาพสมรส (acte de mariage) : หนังสือรับรองโสด (certificat de célibat) ที่แสดงว่าไม่เคยแต่งงานมาก่อน หรือ หนังสือรับรองโสดหลังการหย่า (certificat de divorce) หรือ หนังสือรับรองโสดหลังคู่สมรสเสียชีวิต (certificat de veuvage) เอกสารต้องมีอายุตั้งแต่วันออกไม่เกิน 3 เดือน ให้ท่านขอจากเขตที่เป็นภูมิลำเนาของตัวเองเท่านั้น แนะนำให้สอบถามว่าในวันที่ขอเอกสารนั้นต้องมีพยานไปด้วยหรือไม่ ในกรณีที่ไม่ได้พำนักอยู่ในประเทศไทย ท่านสามารถทำหนังสือมอบอำนาจโดยมีตราประทับจากสถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงปารีส คลิกที่นี่
  5. ใบมรณบัตร (acte de décès) : ในกรณีของผู้มีสถานภาพความเป็นหม้าย
  6. ใบหย่า (ถ้ามี) (acte de divorce) (applicable) หรือ ใบแสดงสถานะความเป็นหม้าย (certificat de veuvage) (กรณีสามีเสียชีวิต) (en cas de décès du conjoint ou conjointe)
  7. ใบเปลี่ยนชื่อ-สกุล (ถ้ามี) (certificat de changement de nom ou de prénom) (applicable) : กรณีที่ชื่อ-สกุลของบิดาและมารดาไม่ตรงกัน ต้องมีใบเปลี่ยนชื่อ-สกุลประกอบด้วย
  8. ใบประเพณี (original de certificat de coutume) : ต้องใช้ฉบับจริง ท่านสามารถขอได้จากสถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงปารีส เมื่อได้เอกสารแล้ว ให้ท่านถ่ายสำเนาไว้หลาย ๆ ฉบับ ใบประเพณีเป็นเอกสารที่ระบุว่าสูติบัตรของท่านออกครั้งเดียวและใช้ได้ตลอดชีวิต โดยทั่วไปแล้ว สูติบัตรของฝรั่งเศสจะมีอายุเพียง 3 เดือน จึงต้องขอใหม่ตลอด แม้ว่าท่านจะมีสูติบัตรที่แปลมาแล้วก็ตาม แต่หน่วยงานฝรั่งเศสจะไม่เชื่อถือเอกสารนี้ ดังนั้น จึงต้องมีใบรับรองประเพณีที่ออกโดยสถานเอกอัครราชทูตฯ ท่านสามารถยื่นคำร้องได้ด้วยตัวเองที่สถานเอกอัครราชทูตฯ หรือ ยื่นผ่านทางไปรษณีย์ได้เช่นกัน คลิกที่นี่ เพื่อดูรายละเอียด

 

         เอกสารสำหรับชาวฝรั่งเศส

  1. บัตรประจำตัวประชาชน หรือ หนังสือเดินทาง (carte d’identité ou passeport)
  2. Attestation sur l’honneur : คลิกที่นี่ เพื่อคัดลอกรูปแบบการเขียนตามตัวอย่าง หรือจะกรอกเอกสารแล้วค่อยดาวน์โหลดออกมาใช้ก็ได้ บางเขตอาจพิมพ์เตรียมไว้ให้ผู้ขอกรอกข้อมูลได้เลย
  3. สูติบัตร (original d’acte de naissance) : ต้องมีอายุน้อยกว่า 3 เดือน
  4. เอกสารการยืนยันที่อยู่ (justificatif de domicile ou de résidence): เช่น บิลค่าน้ำค่าไฟ (relevé d’eau ou d’électricité) สัญญาเช่า (contrat de location) หรือใบเสียภาษีที่อยู่ (relevé des impôts)
  5. รายชื่อพยานในการแต่งงาน (liste des témoins du mariage) : ฝ่ายหนึ่งจะมีพยานอย่างน้อย 1 คนหรือสูงสุด 2 คน พยานจะต้องมีอายุ 18 ปีขึ้นไป (chacun a 2 à 4 témoins âgés de 18 ans révolus)
  6. เอกสารยืนยันตัวตนของพยาน (justificatif d’identité des témoins) เช่น บัตรประจำตัวประชาชน หนังสือเดินทาง หรือใบขับขี่ (carte d’identité, passeport ou permis de conduire)
  7. เอกสารอื่น ๆ (ถ้ามี) (autres documents) (applicable)
  • ถ้าเคยแต่งงานและหย่าแล้ว ให้เตรียมเอกสารการแต่งงานและใบหย่า หรือสูติบัตรที่ระบุว่าหย่าเรียบร้อยแล้ว (divorce : acte de divorce)
  • ถ้าเป็นหม้าย ให้เตรียมเอกสารการตายของสามีหรือภรรยาเก่า หรือ สูติบัตรที่ระบุว่าสามีหรือภรรยาเสียชีวิตแล้ว (veuvage : acte de décès du précédent conjoint ou conjointe)
  • ถ้าต้องการแต่งงานแบบมีสัญญา ต้องทำสัญญาก่อนแต่งงาน (contrat du mariage en cas de besoin) สัญญากล่าวถึงข้อตกลงต่าง ๆ เช่น การจัดการเรื่องทรัพย์สินก่อนแต่งงาน ทั้งคู่สามารถตกลงกันทำสัญญาได้ แต่ต้องทำเสร็จสิ้นก่อนแต่งงาน ท่านสามารถทำสัญญากับผู้จัดทำนิติกรรมสัญญา (notaire) และนำมายื่นที่ศาลาว่าการเมืองก่อนแต่งงาน
  • ถ้าฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีบุตร ต้องนำใบสูติบัตรของบุตร (acte de naissance de progeniture) พร้อมกับทะเบียนบ้าน (livret de famille) มายื่นก่อนแต่งงานด้วย

 

ลำดับการเตรียมเอกสาร

  1. เตรียมเอกสารราชการที่เป็นต้นฉบับภาษาไทย สำเนาหนังสือเดินทาง และสำเนาบัตรประจำตัวประชาชน ไปรับรอง (légalisation) กับกรมการกงสุลให้เรียบร้อย เพื่อแสดงให้เห็นว่าสำเนาดังกล่าวได้คัดลอกมาจากต้นฉบับจริง
  2. นำเอกสารที่ผ่านการรับรองโดยกรมกงสุลไปแปลเป็นภาษาฝรั่งเศสโดยนักแปลที่ได้รับการับรองโดยศาลในประเทศฝรั่งเศส
  3. นำเอกสารที่แปลเป็นภาษาฝรั่งเศสแล้วไปรับรองการแปลที่สถานทูตฝรั่งเศสในประเทศไทย เพื่อแสดงให้เห็นว่าเอกสารดังกล่าวไม่มีการปลอมแปลงใด ๆ ท่านสามารถนัดคิวทางออนไลน์ผ่านเว็บของสถานเอกอัครราชทูตฯ คลิกที่นี่ หรือ ส่งทางไปรษณีย์ก็ได้เช่นกัน

        

         *กรณีที่ท่านใช้บริการแปลกับ AsiePro ท่านสามารถนำเอกสารไปยื่นกับหน่วยงานฝรั่งเศสได้เลย โดยไม่ต้องผ่านการรับรองคำแปลจากสถานเอกอัครราชทูตฯ เพราะเรามีนักแปลที่ได้รับการรับรองโดยศาลอุทธรณ์ในประเทศฝรั่งเศสและสถานเอกราชทูตไทย ณ กรุงปารีส (Expert traducteur assermenté près la Cour d’Appel) ท่านสามารถศึกษาขั้นตอนและบริการแปลอย่างละเอียดของ AsiePro ได้จากหัวข้อ “ถ้าต้องการแปลเอกสารในฝรั่งเศส เริ่มต้นแบบนี้” โดย คลิกที่นี่ ทั้งนี้ บางเขตอาจขอให้ท่านนำเอกสารไปรับรองคำแปลที่สถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงปารีสก่อน แนะนำให้ท่านสอบถามเขตที่อาศัยอยู่ให้ละเอียด

 

  1. ขอใบรับรองประเพณี (certificat de coutume) ที่สถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงปารีส เอกสารที่ใช้ในการขอจะประกอบด้วย แบบฟอร์มคำร้องขอใช้บริการงานนิติกรณ์ (formulaire de demande de légalisation) (คลิกที่นี่) สำเนาหนังสือเดินทาง (photocopie de passeport) สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน (photocopie de carte d’identité) สำเนาหนังสือรับรองความเป็นโสดภาษาไทย (photocopie de certificat de célibat en thaï)

 

ในการขอใบประเพณี ท่านสามารถส่งเอกสารทั้งหมดให้แฟนเป็นคนเดินเรื่องได้ หรือว่าท่านจะส่งเอกสารทางไปรษณีย์ไปให้สถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงปารีส พร้อมแนบซองเปล่าและจ่าหน้าให้สถานเอกอัครราชทูตฯ ส่งใบรับรองประเพณีไปให้ที่อยู่ของแฟน พร้อมติดแสตมป์อากรณ์และแนบค่าธรรมเนียมด้วยเช็คสั่งจ่าย Ambassade Royale de Thaïlande (แทนเงินสด) เป็นจำนวน 15 ยูโร คลิกที่นี่ เพื่อดูรายละเอียดเพิ่มเติม

 

  1. ท่านสามารถส่งเอกสารตัวจริงทั้งหมด (ทั้งภาษาไทยและที่แปลแล้ว) ไปให้แฟนเพื่อดำเนินการได้ แนะนำให้ท่านถ่ายสำเนาเก็บไว้หลาย ๆ ฉบับ
  2. ให้แฟนไปยื่นเอกสารที่ศาลาว่าการเมือง ทั้งเอกสารของตัวเองและของท่านเพื่อขออนุญาตแต่งงาน พร้อมสอบถามเจ้าหน้าที่ว่าจำเป็นต้องใช้ล่ามหรือไม่ ทางศาลาว่าการเมืองจะมีรายชื่อล่ามให้ท่านเลือก (ไทย – ฝรั่งเศส, อังกฤษ – ฝรั่งเศส) บางเขตอนุญาตให้เพื่อนที่สื่อสารภาษาไทย – ฝรั่งเศสมาเป็นล่ามได้ และถ้าท่านสื่อสารภาษาฝรั่งเศสพอเข้าใจ บางเขตอาจมีข้อยกเว้นว่าไม่จำเป็นต้องใช้ล่ามก็ได้

 

*ในกรณีที่ต้องใช้ล่าม ท่านต้องใช้บริการล่าม 2 ครั้ง ได้แก่ วันสัมภาษณ์และวันแต่งงานหรือวันจดทะเบียนสมรส

  • วันสัมภาษณ์ (ความเข้มข้นในการถามของแต่ละคู่อาจแตกต่างกันไป) คำถามทั่วไป เช่น เจอกันที่ไหน คบกันมากี่ปีแล้ว ฯลฯ
  • วันแต่งงานหรือจดทะเบียนสมรส (เจ้าหน้าที่เป็นผู้อ่านข้อมูล โดยมีล่ามเป็นผู้แปล ข้อมูลจะเกี่ยวข้องกับสิทธิต่าง ๆ, ยอมแต่งงานกันหรือไหม ฯลฯ)

 

  1. ศาลาว่าการเมืองจะส่งเรื่องมาทางสถานเอกอัครราชทูตฝรั่งเศสในประเทศไทย แล้วทางสถานเอกอัครราชทูตฯ จะโทรมาสัมภาษณ์ท่าน เสร็จแล้ว สถานเอกอัครราชทูตฯ จะติดประกาศเป็นเวลา 2 สัปดาห์เพื่อดูว่าจะมีใครคัดคานการแต่งงานนี้หรือไม่ อันเป็นธรรมเนียมของประเทศฝรั่งเศส จากนั้นก็จะได้ใบที่แสดงว่าไม่มีใครคัดการการแต่งงาน (certificat de publication et non-opposition) ทางแฟนของท่านจะได้รับตัวสำเนาจากศาลาว่าการเมือง
  2. ให้แฟนส่งใบในข้อที่ 7 พร้อมเอกสารเอกสารอื่น ๆ ของตัวเองมาให้ท่าน เพื่อนำมายื่นขอวีซ่า ให้แฟนสอบถามว่าสามารถมาเดินทางมาแต่งงานด้วยวีซ่าท่องเที่ยวได้หรือไม่ บางเขตต้องขอวีซ่าเยี่ยมเยียนสำหรับมาแต่งานเท่านั้น
  3. ให้แฟนนัดหมายกับศาลาว่าการเมืองที่พำนักอยู่เพื่อขอจดทะเบียนสมรส แนะนำให้ท่านสอบถามกับศาลาว่าการเมืองก่อนว่าต้องยื่นเอกสารอื่น ๆ เพิ่มเติมหรือไม่ หากมีข้อสงสัยอื่น ๆ เกี่ยวกับรายละเอียดขั้นตอน ให้แฟนสอบถามข้อมูลจากศาลาว่าการเมืองได้เลย เพราะแต่ละเขตอาจมีขั้นตอนบางประการอย่างที่แตกต่างกัน
  4. เมื่อจดทะเบียนสมรสเรียบร้อยแล้ว ให้ท่านกลับมาประเทศไทยเพื่อขอวีซ่าระยะยาวติดตามสามี (Visa long séjour) และอยู่แบบถาวรในประเทศฝรั่งเศสได้

 

หมายเหตุ : รายละเอียดข้อมูลและเอกสารที่ใช้ยื่นเพื่อขอจดทะเบียนสมรสในแต่ละเขตอาจแตกต่างกัน และอาจมีการเปลี่ยนแปลงในแต่ละปี ผู้สมัครควรตรวจสอบข้อมูลกับทางสถานทูตฝรั่งเศสอีกครั้งเพื่อความถูกต้อง

 

แหล่งอ้างอิง

Ministère de la Justice เว็บไซต์ http://www.justice.gouv.fr

Service-Public.fr เว็บไซต์ https://www.service-public.fr/particuliers/vosdroits/F930

สถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงปารีส เว็บไซต์ http://www.thaiembassy.fr

 

Laisser un commentaire

Votre adresse e-mail ne sera pas publiée. Les champs obligatoires sont indiqués avec *