Aller au contenu

ถ้าต้องการรับบุตรบุญธรรมให้ลูกที่เกิดจากคู่สมรสเก่ามาอยู่กับคู่สมรสใหม่ชาวฝรั่งเศส เริ่มต้นแบบนี้

ถ้าต้องการรับบุตรบุญธรรมให้ลูกที่เกิดจากคู่สมรสเก่ามาอยู่กับคู่สมรสใหม่ชาวฝรั่งเศส เริ่มต้นแบบนี้

 

         คู่สมรสชาวฝรั่งเศสรับลูกติดของคู่สมรสชาวไทยเป็นบุตรบุญธรรมได้ โดยต้องทำตามเงื่อนไขขั้นตอน หากเป็นลูกที่บรรลุนิติภาวะแล้ว ต้องได้รับความยินยอมจากลูกก่อน การดำเนินการจะต้องทำขึ้นในศาลฝรั่งเศส การรับบุตรบุญธรรมมีจุดประสงค์เพื่อสร้างความผูกพัน (filiation) ซึ่งเป็นความผูกพันธ์ทางกฎหมายระหว่างเด็กกับพ่อและ/หรือแม่ผู้รับบุตรบุญธรรม

         โดยทั่วไปแล้ว การดำเนินการจะใช้เวลาประมาณ 1 – 2 ปี ผู้ประสงค์จะรับบุตรบุญธรรมสามารถทำเรื่องแค่ในประเทศฝรั่งเศสได้ แต่การรับบุตรบุญธรรมจะมีผลตามกฎหมายในฝรั่งเศส หากต้องการให้การดำเนินการมีผลในเมืองไทยด้วย ท่านต้องทำเรื่องในประเทศฝรั่งเศสก่อน เมื่อเอกสารครบถ้วนสมบูรณ์แล้ว ทางการฝรั่งเศสจะส่งเรื่องไปที่ประเทศไทยเพื่อให้ไปติดต่อพร้อมลูกหน่วยงานราชการไทย หน่วยงานที่รับดูแลเรื่องการรับบุตรบุญธรรมคือ ศูนย์อำนวยการรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม กรมกิจการเด็กและเยาวชน ท่านจะต้องเตรียมรายการเอกสารและทำตามขั้นตอนของไทยอีกที

การรับบุตรบุญธรรมมี 2 แบบ ประการแรกคือ การรับบุตรบุญธรรมแบบธรรมดา (adoption simple) สำหรับกรณีที่ใบสูติบัตรของเด็กมีชื่อผู้ปกครองอีกฝ่ายระบุไว้ (เช่น พ่อแท้ ๆ) เมื่อทำเรื่องรับบุตรบุญธรรมแล้วจะมีชื่อพ่อสองคนระบุไว้ แต่พ่อบุญธรรมจะมีสิทธิ์ในตัวเด็กมากที่สุด ประการที่สอง คือ การรับบุตรบุญธรรมแบบสมบูรณ์ (adoption plénière) สำหรับกรณีที่ใบสูติบัตรของเด็กไม่มีชื่อผู้ปกครองอีกฝ่ายระบุไว้ บุตรบุญธรรมจะไม่มีความสัมพันธ์ทางกฎหมายกับครอบครัวเดิมอีก

ผู้รับบุตรบุญธรรมต้องเป็นผู้ดำเนินการเอง ผู้รับบุตรบุญธรรมอาจเป็น 1) บุคคลเดียว 2) คู่รัก หรือ 3) รับลูกของคู่สมรสไม่ว่าจะเป็นแบบแต่งงาน แบบจด PACS หรือคนที่อยู่กินกันแบบไม่ได้แต่งงานก็ได้ (concubinage) ท่านจะรับบุตรบุญธรรมทั้งที่เป็นผู้เยาว์และผู้ที่บรรลุนิติภาวะแล้วก็ได้

 

         ในครั้งนี้ เราจะมาดูการรับบุตรบุญธรรมที่เป็นลูกของคู่สมรสไม่ว่าจะเป็นแบบแต่งงาน แบบจด PACS หรือคนที่อยู่กินกันแบบไม่ได้แต่งงาน โดยแบ่งออกเป็นบุตรบุญธรรมที่เป็นผู้เยาว์และผู้ที่บรรลุนิติภาวะแล้ว ซึ่งแต่ละแบบก็จะแบ่งย่อยออกเป็น 2 ประเภท อันได้แก่ การรับบุตรบุญธรรมแบบธรรมดา และการรับบุตรบุญธรรมแบบสมบูรณ์

 

กรณีที่บุตรบุญธรรมเป็นผู้เยาว์ (adoption d’un mineur)

  1. การรับบุตรบุญธรรมแบบธรรมดาสำหรับเด็กที่เป็นผู้เยาว์ (adoption simple d’un mineur)
  • เงื่อนไขสำหรับผู้รับบุตรบุญธรรม
  • ผู้รับบุตรบุญธรรมกับผู้ปกครองของบุตรบุญธรรมต้องอยู่ด้วยกันซึ่งอาจจะเป็นแบบแต่งงาน แบบจด PACS หรือคนที่อยู่กินกันแบบไม่ได้แต่งงาน
  • ผู้รับบุตรบุญธรรมต้องมีอายุห่างจากบุตรบุญธรรมอย่างน้อย 10 ปีขึ้นไป หากมีหลักฐานเพียงพอ ศาลอาจตอบรับการรับบุตรบุญธรรมสำหรับผู้รับบุตรบุญธรรมที่มีอายุห่างจากบุตรบุญธรรมน้อยกว่า 10 ปี (เช่น เด็กที่ถูกทอดทิ้งโดยพ่อแท้ ๆ และได้รับการเลี้ยงดูโดยพ่อเลี้ยง)
  • การรับบุตรบุญธรรมใน 2 กรณีดังต่อไปนี้จะไม่มีเงื่อนไขด้านอายุสำหรับบุตรบุญธรรม
  • กรณีที่เด็กมีครอบครัวและได้รับการยินยอมจากพ่อหรือแม่แท้ ๆ ก่อนแล้ว
  • กรณีที่คู่สมรสใหม่รับลูกเป็นบุตรบุญธรรมแล้ว ไม่ว่าจะเป็นแบบธรรมดาหรือแบบสมบูรณ์
  • การยินยอมในการรับบุตรบุญธรรม
  • คู่สมรสแบบแต่งงาน แบบจด PACS หรือคนที่อยู่กินกันแบบไม่ได้แต่งงานต้องให้การยินยอมในการรับบุตรบุญธรรมต่อหน้า notaire ผู้ทำเอกสาร acte authentique (เอกสารพร้อมลายเซ็นที่มีผลทางกฎหมาย)
  • กรณีที่เด็กอายุมากกว่า 13 ปี ต้องให้การยินยอมต่อหน้า notaire แต่ในกรณีที่เด็กอยู่ในสถานะที่ไม่สามารถให้การยินยอมได้ ศาลต้องรับความเห็นจาก administrateur adhoc (บุคคลที่ให้ความช่วยเหลือผู้เยาว์ที่ไม่สามารถให้การยินยอมได้ด้วยตัวเอง)
  • คู่สมรสแบบแต่งงาน แบบจด PACS หรือคนที่อยู่กินกันแบบไม่ได้แต่งงานเพิกถอนการยินยอมได้ในช่วง 2 เดือนแรก เมื่อผ่านช่วงระยะเวลาดังกล่าวไปแล้ว การดำเนินการเพื่อบุตรบุญธรรมถึงจะเริ่มขึ้นได้
  • กรณีที่พ่อหรือแม่แท้ ๆ ยังมีชีวิตอยู่ ต้องได้รับการยินยอมต่อหน้า notaire จากบุคคลดังกล่าว
  • คลิกที่นี่ เพื่อค้นหา notaire ในเขตของท่าน
  • ขั้นตอนการดำเนินการ
  • ส่งใบคำขอเรื่องรับบุตรบุญธรรม (requête en adoption simple de l’enfant du conjoint/e) ให้พนักงานอัยการ ใบคำขอทำขึ้นโดยใช้กระดาษธรรมดาได้ หรือ คลิกที่นี่ เพื่อดาวน์โหลดแบบฟอร์มคำขอ Cerfa n° 15741*03 และกรุณา คลิกที่นี่ เพื่อดูรายละเอียดเกี่ยวกับใบคำขอ เอกสารหลัก ๆ ที่ต้องแนบประกอบมีดังนี้
  • หนังสือยินยอมการที่ทำขึ้นต่อหน้า notaire หรือหน่วยงานฝรั่งเศส (เช่น สถานเอกอัครราชทูตฝรั่งเศสในต่างประเทศ) ทั้งของคู่สมรสและบุตรบุญธรรม
  • สำเนาใบสูติบัตรของผู้รับบุตรบุญธรรม เอกสารต้องมีอายุน้อยกว่า 3 เดือน (photocopie datant de moins de 3 mois de votre acte de naissance)
  • สำเนาใบสูติบัตรของคู่สมรสชาวไทย เอกสารต้องมีอายุน้อยกว่า 3 เดือน (photocopie datant de moins de 3 mois d’acte de naissance de votre conjoint/e)
  • สำเนาใบสูติบัตรของบุตรบุญธรรม เอกสารต้องมีอายุน้อยกว่า 3 เดือน (photocopie datant de moins de 3 mois d’acte de naissance de l’adopté/e)
  • กรณีที่ผู้รับบุตรบุญธรรมมีลูกอยู่แล้ว ให้ยื่นสำเนาใบสูติบัตรของลูก ๆ ด้วย (photocopie datant de moins de 3 mois d’acte de naissance de vos enfants)
  • สำเนาใบทะเบียนสมรส เอกสารต้องมีอายุน้อยกว่า 3 เดือน (photocopie datant de moins de 3 mois d’acte de mariage)
  • หากคู่ผู้รับบุตรบุญะธรรมมีลูก ต้องได้รับความเห็นจากลูกที่บรรลุนิติภาวะแล้ว (avis des enfants majeurs sur l’adoption) ส่วนลูกที่ยังเป็นผู้เยาว์ ให้ระบุความสัมพันธ์ในครอบครัวระหว่างลูก ๆ กับบุตรบุญธรรม (พี่ หรือ น้อง)
  • หากพ่อหรือแม่แท้ ๆ ของบุตรบุญธรรมยังมีชีวิตอยู่ ต้องมีหนังสือยินยอมจากบุคคลดังกล่าวด้วย (consentement de l’autre parent biographique)
  • สำเนาคำตัดสินของศาล ในกรณีที่ผู้ปกครองอีกฝ่าย (เช่น พ่อแท้ ๆ) ของเด็กสูญเสียสิทธิ์ในตัวเด็กแล้ว (ถ้ามี) (cas échéant, photocopie de la decision judiciaire si l’autre parent a perdu son autorité parentale)
  • สำเนาใบมรณบัตรในกรณีที่ผู้ปกครองอีกฝ่ายของเด็กเสียชีวิต (photocopie d’acte de décès de l’autre parent) สำเนาใบมรณบัตรของพ่อแม่ของผู้ปกครองอีกฝ่าย (ถ้ามี) (cas échéant, photocopie d’acte de décès de parents de l’autre parent) หรือหลักฐานอื่น ๆ ที่พิสูจน์ให้เห็นว่าพ่อแม่ของผู้ปกครองอีกฝ่ายไม่มีผลประโยชน์ใด ๆ กับเด็ก (tout élément prouvant le désintérêt des parents du défunt à l’égard de l’enfant)
  • สำเนาใบมรณบัตรในกรณีที่ภรรยาของผู้รับบุตรบุญธรรมเสียชีวิต (photocopie d’acte de décès de votre conjointe) สำเนาใบมรณบัตรของของพ่อแม่ของภรรยา หากเสียชีวิตแล้ว (cas échéant, photocopie d’acte de décès de parents de conjointe) หรือ ระบุว่ายังมีการรักษาความสัมพันธ์กับครอบครัวของภรรยาที่เสียชีวิตแล้วหรือไม่ หากยังมีการรักษาความสัมพันธ์ ต้องระบุว่าครอบครัวของภรรยาที่เสียชีวิตได้รับแจ้งเกี่ยวกับการรับบุตรบุญธรรมแล้วหรือไม่
  • หากภรรยาของผู้รับบุตรบุญธรรมเสียชีวิตแล้ว ต้องมีหนังสือยินยอมจากการประชุมของผู้ใหญ่ในครอบครัวของภรรยา (conseil de famille) ที่จัดขึ้นโดยผู้พิพากษาที่กำกับดูแล (juge des tutelles)
  • รายละเอียดการเลือกนามสกุลของบุตรบุญธรรม (précisions sur le choix du nom de famille de l’adopté/e)
  • หนังสือยินยอมของบุตรบุญธรรมในการเปลี่ยนนามสกุลและ/หรือชื่อ ในกรณีที่เด็กมีอายุมากกว่า 13 ปี (consentement de changement de nom et/ou de nom si l’adopté/e a plus de 13 ans) หนังสือยินยอมทำขึ้นโดยใช้กระดาษธรรมได้ (consentement peut être fait sur le papier libre)
  • ใบ attestation sur h’honneur ที่ระบุว่าท่านทั้งสองไม่ได้แยกทาง หย่าร้าง หรือไม่ได้อยู่ในระหว่างการหย่าร้าง (attestation sur l’honneur selon laquelle vous n’êtes « ni séparé(e)s de corps, ni divorcé(e)s ni en instance de divorce »)
  • ใบ attestation sur l’honneur ที่ระบุว่าการรับบุตรบุญธรรมไม่ได้ทำขึ้นเพื่อก่อความวุ่นวายในครอบครัว ในกรณีที่ผู้รับบุตรบุญธรรมมีลูกอยู่แล้ว (attestation sur l’honneur que l’adoption sollicitée n’est pas de nature à compromettre la vie familiale si vous avez déjà un ou plusieurs enfants)
  • เอกสารที่ระบุว่าจะไม่เพิกถอนความยินยอมในการรับบุตรบุญธรรมหลังช่วง 2 เดือนแรกของการดำเนินการ (actes de non-rétractation des consentements requis à l’expiration d’un délai de 2 mois)
  • หากบุตรบุญธรรมเป็นผู้เยาว์และไม่ได้มีสัญชาติฝรั่งเศส ต้องแนบสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนทั้งสองหน้าของเด็ก (photocopie de recto-verso de justificatif d’identité) พร้อมกับแนบใบประเพณี (certificat de coutume) ที่ออกโดยสถานเอกอัครราชทูตของไทยหรือทนาย เพื่อพิสูจน์ว่ากฎหมายส่วนบุคคลของเด็กไม่เป็นปัญหาในการรับบุตรบุญธรรมแบบธรรมดา (เด็กที่เกิดและอยู่ในประเทศฝรั่งเศสไม่ต้องแนบเอกสารดังกล่าว)
  • ส่งคำขอทางไปรษณีย์แบบลงทะเบียน (lettre recommandée) พร้อมแนบใบตอบรับ (accusé de réception) ไปให้ศาลในเขตที่ท่านอาศัยอยู่ คลิกที่นี่ เพื่อดูที่อยู่ของศาลในเขตของท่านโดยกรอกรหัสไปรษณีย์
  • ท่านไม่ต้องใช้ทนายในกรณีที่บุตรบุญธรรมมาอยู่อาศัยที่บ้านก่อนอายุครบ 15 ปี
  • ท่านต้องใช้ทนายในการดำเนินการในกรณีที่บุตรบุญธรรมมาอยู่อาศัยที่บ้านหลังอายุครบ 15 ปี
  • หากมีปัญหาเรื่องค่าใช้จ่ายในการดำเนินการทางกฎหมาย ท่านสามาถขอความช่วยเหลือจาก aide juridictionnelle ได้
  • หลังพิจารณาแล้ว ท่านจะได้รับแจ้งผลการตัดสินศาล
  • ในกรณีที่ศาลปฏิเสธการรับบุตรบุญธรรม ท่านจะคัดค้านคำตัดสินศาลในศาลอุทธรณ์ได้ภายในระยะเวลา 15 วัน คลิกที่นี่ เพื่อดูที่อยู่ของศาลอุทธรณ์ในเขตของท่าน
  • ผลทางกฎหมายของการรับบุตรบุญธรรม
  • บุตรบุญธรรมมีสิทธิและหน้าที่ในครอบครัวใหม่และยังคงมีความสัมพันธ์กับครอบครัวเก่า
  • ผู้รับบุตรบุญธรรมเป็นผู้ปกครองของบุตรบุญธรรมพร้อม ๆ กับคู่สมรสที่อาจเป็นแบบแต่งงาน แบบจด PACS หรือคนที่อยู่กินกันแบบไม่ได้แต่งงาน แต่มีเพียงผู้รับบุตรบุญธรรมที่มีสิทธิ์ตามกฎหมายในตัวเด็ก ท่านทั้งสองมีจะมีสิทธิ์ในการเป็นผู้ปกครองร่วมกันตามกฎหมายก็ต่อเมื่อได้ยื่นเอกสาร déclaration conjointe ต่อเสมียนศาลเท่านั้น
  • ผู้รับบุตรบุญธรรมเป็นผู้รับผิดชอบเรื่องอาหารการกินของบุตรบุญธรรม และบุตรบุญธรรมจะกลายเป็นผู้ดูแลอาหารการกินของผู้รับบุตรบุญธรรมในอนาคต
  • นามสกุลของผู้รับบุตรบุญธรรมจะระบุเพิ่มหรือแทนที่นามสกุลเดิมของบุตรบุญธรรมได้ แต่บุตรบุญธรรมสามารถคงนามสกุลเดิมได้ภายใต้อำนาจของคำตัดสินศาล หากเด็กอายุมากกว่า 13 ปี ต้องได้รับการยินยอมจากเด็กก่อน
  • ท่านสามารถยื่นเรื่องต่อศาลเรื่องการเปลี่ยนชื่อบุตรบุญธรรมได้ แต่ถ้าเด็กอายุมากกว่า 13 ปี ต้องได้รับการยินยอมจากเด็กก่อน
  • การรับบุตรบุญธรรมแบบธรรมดาไม่ได้เอื้อให้บุตรบุญธรรมได้รับสัญชาติฝรั่งเศสโดยอัตโนมัติ ต้องยื่นเรื่องขอสัญชาติฝรั่งเศสแทน (naturalisation)
  • บุตรบุญธรรมมีสิทธิ์ในมรดกทั้งจากครอบครัวเก่าและครอบครัวใหม่ แต่บุตรบุญธรรมไม่ใช่ทายาทตามกฎหมายของพ่อแม่ของผู้รับบุตรบุญธรรม (พวกเขาสามารถตัดสิทธิ์ในกองมรดกได้)
  • ศาลอาจเพิกถอนการรับบุตรบุญธรรมได้ จากเหตุความรุนแรง (เช่น การทารุณกรรม) ตามคำร้องของพนักงานอัยการ

 

  1. การรับบุตรบุญธรรมแบบสมบูรณ์สำหรับเด็กที่เป็นผู้เยาว์ (adoption plénière d’un mineur)
  • กรณีที่สามารถทำเรื่องรับบุตรบุญธรรมแบบสมบูรณ์ได้ มีดังนี้
  • ใบสูติบัตรของเด็กไม่มีชื่อของผู้ปกครองอีกฝ่าย (เช่น พ่อแท้ ๆ) ระบุไว้ บุตรบุญธรรมจะไม่มีความสัมพันธ์ทางกฎหมายกับครอบครัวเดิมอีก
  • ผู้ปกครองอีกฝ่ายของเด็กโดนตัดสิทธิ์ในการเป็นผู้ปกครองแล้ว
  • ผู้ปกครองอีกฝ่ายของเด็กเสียชีวิตแล้ว รวมถึงพ่อแม่ของผู้ปกครองดังกล่าวด้วย หากยังมีชีวิตอยู่ ต้องไม่มีผลประโยชน์ใด ๆ ในตัวเด็ก
  • เด็กเป็นบุตรบุญธรรมของคู่สมรสที่อาจเป็นแบบแต่งงาน แบบจด PACS หรือคนที่อยู่กินกันแบบไม่ได้แต่งงานอยู่แล้ว
  • เด็กเป็นบุตรบุญธรรมแบบสมบูรณ์ของคู่สมรสของท่านที่อาจเป็นแบบแต่งงาน แบบจด PACS หรือคนที่อยู่กินกันแบบไม่ได้แต่งงานอยู่แล้ว
  • เงื่อนไขของผู้รับบุตรบุญธรรม
  • ผู้รับบุตรบุญธรรมกับผู้ปกครองของบุตรบุญธรรมต้องอยู่ด้วยกัน ซึ่งอาจเป็นแบบแต่งงาน แบบจด PACS หรือคนที่อยู่กินกันแบบไม่ได้แต่งงาน
  • ผู้รับบุตรบุญธรรมต้องมีอายุห่างจากบุตรบุญธรรมอย่างน้อย 10 ปีขึ้นไป หากมีหลักฐานเพียงพอ ศาลอาจตอบรับการรับบุตรบุญธรรมสำหรับผู้รับบุตรบุญธรรมมีอายุห่างจากบุตรบุญธรรมน้อยกว่า 10 ปี (เช่น เด็กที่ถูกทอดทิ้งโดยพ่อแท้ ๆ และได้รับการเลี้ยงดูโดยพ่อเลี้ยง)
  • ผู้รับบุตรบุญธรรมใช้ชีวิตด้วยกันกับบุตรบุญธรรมแล้วอย่างน้อย 6 เดือน
  • การยินยอมในการทำเรื่องรับบุตรบุญธรรม
  • คู่สมรสที่อาจเป็นแบบแต่งงาน แบบจด PACS หรือคนที่อยู่กินกันแบบไม่ได้แต่งงานต้องให้การยินยอมในการรับบุตรบุญธรรมต่อหน้า notaire ผู้ทำเอกสาร acte authentique (เอกสารพร้อมลายเซ็นที่มีผลทางกฎหมาย)
  • คู่สมรสที่อาจเป็นแบบแต่งงาน แบบจด PACS หรือคนที่อยู่กินกันแบบไม่ได้แต่งงานเพิกถอนการยินยอมได้ในช่วง 2 เดือนแรกของการดำเนินการ เมื่อผ่านช่วงระยะเวลาดังกล่าวแล้ว การดำเนินการเพื่อรับบุตรบุญธรรมถึงจะเริ่มขึ้นได้
  • กรณีที่เด็กอายุมากกว่า 13 ปี ต้องให้การยินยอมต่อหน้า notaire แต่ในกรณีที่เด็กอยู่ในสถานะที่ไม่สามารถให้การยินยอมได้ ศาลต้องรับความเห็นจาก administrateur adhoc (บุคคลที่ให้ความช่วยเหลือกับผู้เยาว์ที่ไม่สามารถให้การยินยอมได้ด้วยตัวเอง)
  • คลิกที่นี่ เพื่อค้นหา notaire ในเขตของท่าน
  • ขั้นตอนการดำเนินการ
  • ส่งใบคำขอเรื่องรับบุตรบุญธรรม (requête en adoption plénière de l’enfant du conjoint/e) ไปให้พนักงานอัยการ ใบคำขอสามารถทำขึ้นโดยใช้กระดาษธรรมดาได้หรือ คลิกที่นี่ เพื่อดาวน์โหลดแบบฟอร์มคำขอ Cerfa n° 15743*03 และกรุณา คลิกที่นี่ เพื่อดูรายละเอียดเกี่ยวกับใบคำขอ เอกสารหลัก ๆ ที่ต้องแนบประกอบเป็นเช่นเดียวกันกับการรับบุตรบุญธรรมแบบธรรมดาที่เป็นผู้เยาว์
  • ส่งคำขอทางไปรษณีย์แบบลงทะเบียน (lettre recommandée) พร้อมแนบใบตอบรับ (accusé de réception) ไปให้ศาลในเขตที่ท่านอาศัยอยู่ คลิกที่นี่ เพื่อดูที่อยู่ของศาลในเขตของท่าน โดยกรอกรหัสไปรษณีย์
  • ท่านไม่ต้องใช้ทนายในกรณีที่บุตรบุญธรรมมาอยู่อาศัยที่บ้านก่อนอายุครบ 15 ปี
  • ท่านต้องใช้ทนายในการดำเนินการในกรณีที่บุตรบุญธรรมมาอยู่อาศัยที่บ้านหลังอายุครบ 15 ปี
  • หากมีปัญหาเรื่องค่าใช้จ่ายในการดำเนินการทางกฎหมาย ท่านสามาถขอความช่วยเหลือจาก aide juridictionnelle ได้
  • หลังพิจารณาแล้ว ท่านจะได้รับแจ้งผลการตัดสินศาล
  • ในกรณีที่ศาลปฏิเสธการรับบุตรบุญธรรม ท่านสามารถคัดค้านคำตัดสินศาลในศาลอุทธรณ์ได้ภายในระยะเวลา 15 วัน คลิกที่นี่ เพื่อดูที่อยู่ของศาลอุทธรณ์ในเขตของท่าน
  • ผลทางกฎหมายของการรับบุตรบุญธรรม
  • ท่านทั้งสองมีจะมีสิทธิ์ในการเป็นผู้ปกครองร่วมกันตามกฎหมาย
  • ท่านทั้งสองเป็นผู้รับผิดชอบเรื่องอาหารการกินของบุตรบุญธรรม และบุตรบุญธรรมจะกลายเป็นผู้ดูแลอาหารการกินของท่านในอนาคต
  • ท่านทั้งสองสามารถตัดสินใจเรื่องชื่อ-สกุลของบุตรบุญธรรมด้วยการทำ déclaration conjointe ซึ่งจะต้องแนบไปตอนที่ยื่นคำขอเรื่องรับบุตรบุญธรรม คลิกที่นี่ เพื่อดาวน์โหลดเอกสาร (Cerfa n° 15286*03) ท่านสามารถเลือกได้ 3 ทาง
  • ใช้สกุลของผู้รับบุตรบุญธรรม
  • ใช้สกุลของคู่สมรสที่อาจเป็นแบบแต่งงาน แบบจด PACS หรือคนที่อยู่กินกันแบบไม่ได้แต่งงาน
  • ใช้สกุลของทั้งสองฝ่าย เรียงลำดับตามที่ท่านตัดสินใจ

*หากท่านไม่เลือกการระบุสกุล บุตรบุญธรรมจะมีสกุลที่ผสมกันทั้งของผู้รับบุตรบุญธรรมและคู่สมรสที่อาจเป็นแบบแต่งงาน แบบจด PACS หรือคนที่อยู่กินกันแบบไม่ได้แต่งงาน และเมื่อท่านทั้งสองมีลูกด้วยกัน สกุลของลูกดังกล่าวก็จะเป็นแบบเดียวกับบุตรบุญธรรม

*ท่านสามารถยื่นเรื่องต่อศาลเรื่องการเปลี่ยนชื่อบุตรบุญธรรมได้ แต่ถ้าเด็กอายุมากกว่า 13 ปี ต้องได้รับการยินยอมจากเด็กก่อน

  • บุตรบุญธรรมจะได้รับสัญชาติฝรั่งเศสโดยอัตโนมัติ และจะได้รับการพิจารณาว่าเป็นคนฝรั่งเศสโดยกำเนิด
  • บุตรบุญธรรมมีสิทธิ์ในมรดกของทั้งครอบครัวเก่าและครอบครัวใหม่ และเป็นทายาททางกฎหมายด้วย
  • การรับบุตรบุญธรรมแบบสมบูรณ์ไม่สามารถเพิกถอนได้

 

กรณีที่บุตรบุญธรรมบรรลุนิติภาวะแล้ว (adoption d’un majeur)

  • เงื่อนไขสำหรับผู้รับบุตรบุญธรรม
  • ท่านสามารถรับเด็กของคู่สมรสที่อาจเป็นแบบแต่งงาน แบบจด PACS หรือคนที่อยู่กินกันแบบไม่ได้แต่งงานเป็นบุตรบุญธรรมได้ โดยต้องได้รับการยินยอมจากเด็กก่อน
  • ผู้รับบุตรบุญธรรมต้องมีอายุอย่างน้อย 28 ปี และมีอายุห่างจากบุตรบุญธรรมมากกว่า 10 ปี หากมีหลักฐานเพียงพอ ศาลอาจตอบรับการรับบุตรบุญธรรมสำหรับผู้รับบุตรบุญธรรมมีอายุห่างจากบุตรบุญธรรมน้อยกว่า 10 ปี (เช่น เด็กที่ถูกทอดทิ้งโดยพ่อแท้ ๆ และได้รับการเลี้ยงดูโดยพ่อเลี้ยง)
  • รูปแบบการรับบุตรบุญธรรม
  • การรับบุตรบุญธรรมที่บรรลุนิติภาวะแล้วจะมีเพียงแบบธรรมดาเท่านั้น เด็กยังคงมีความสัมพันธ์กับครอบครัวเก่าและครอบครัวใหม่ในเวลาเดียวกัน
  • การรับบุตรบุญธรรมที่บรรลุนิติภาวะแล้ว (ถึง 21 ปี) ทำเป็นแบบสมบูรณ์ได้ใน 2 กรณี คือ 1) เด็กได้อาศัยอยู่กับท่านแล้วตั้งแต่ตอนที่เด็กมีอายุน้อยกว่า 15 ปี แต่ตอนนั้นท่านมีเงื่อนไขไม่ครบในการรับบุตรบุญธรรม และ 2) ท่านเคยรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรมแบบธรรมดาตอนที่เด็กมีอายุน้อยกว่า 15 ปี
  • การยินยอมในการรับบุตรบุญธรรม
  • บุตรบุญธรรมต้องให้การยินยอมต่อหน้า notaire ผู้ทำเอกสาร acte authentique (เอกสารพร้อมลายเซ็นที่มีผลทางกฎหมาย)
  • ในกรณีที่เด็กอยู่ในสถานะที่ไม่สามารถให้การยินยอมได้ ศาลต้องขอความเห็นจากบุคคลที่ทำหน้าที่ปกป้องสิทธิเด็ก (เช่น tuteur, curateur)
  • หากเด็กอยู่ต่างประเทศ ต้องให้การยินยอมต่อหน้าหน่วยงานราชการของฝรั่งเศส เช่น สถานเอกอัครราชทูตฝรั่งเศสในประเทศไทย
  • คลิกที่นี่ เพื่อค้นหา notaire ในเขตของท่าน
  • หากท่านมีคู่สมรสที่อาจเป็นแบบแต่งงาน แบบจด PACS หรือคนที่อยู่กินกันแบบไม่ได้แต่งงาน ต้องได้รับการยินยอมจากบุคคลดังกล่าวด้วย
  • การยินยอมรับบุตรบุญธรรมทำขึ้นโดยใช้กระดาษธรรมดาได้ หรือจะใช้ notaire เพื่อทำเอกสาร acte authentique ขึ้นมาก็ได้เช่นกัน
  • บุตรบุญธรรมเปลี่ยนแปลงความยินยอมได้ทุกเมื่อจนกว่าจะมีคำตัดสินศาล
  • การเปลี่ยนชื่อ-สกุลต้องได้รับการยินยอมจากบุตรบุญธรรมด้วย
  • ขั้นตอนการดำเนินการ
  • ส่งใบคำขอเรื่องรับบุตรบุญธรรม (requête en adoption simple d’un majeur par une personne à titre individuel) ไปให้พนักงานอัยการ ใบคำขอทำขึ้นโดยใช้กระดาษธรรมดาได้หรือ คลิกที่นี่ เพื่อดาวน์โหลดแบบฟอร์มคำขอ Cerfa n° 15739*03 และกรุณา คลิกที่นี่ เพื่อดูรายละเอียดเกี่ยวกับใบคำขอ เอกสารหลัก ๆ ที่ต้องแนบประกอบเป็นเช่นเดียวกันกับการรับบุตรบุญธรรมแบบธรรมดาที่เป็นผู้เยาว์
  • หนังสือยินยอมการรับบุตรธรรมที่ทำขึ้นต่อหน้า notaire หรือหน่วยงานฝรั่งเศส (เช่น สถานเอกอัครราชทูตฝรั่งเศสในต่างประเทศ) ทั้งของคู่สมรสและบุตรบุญธรรม
  • สำเนาใบสูติบัตรของผู้รับบุตรบุญธรรม เอกสารต้องมีอายุน้อยกว่า 3 เดือน (photocopie datant de moins de 3 mois de votre acte de naissance)
  • สำเนาใบสูติบัตรของคู่สมรส เอกสารต้องมีอายุน้อยกว่า 3 เดือน (cas échéant, photocopie datant de moins de 3 mois d’acte de naissance de votre conjoint/e)
  • สำเนาใบสูติบัตรของบุตรบุญธรรม เอกสารต้องมีอายุน้อยกว่า 3 เดือน (photocopie datant de moins de 3 mois d’acte de naissance de l’adopté/e)
  • สำเนาทะเบียนบ้านของผู้รับบุตรบุญธรรม (หน้าที่แสดงข้อมูลการแต่งงานและลูก แม้จะเป็นหน้าเปล่าก็ตาม) และของบุตรบุญธรรม (votre livret de famille (pages mariages et pages enfants même si ces pages sont vierges) et celui de l’adopté/e )
  • กรณีที่ผู้รับบุตรบุญธรรมมีลูกอยู่แล้ว ให้ยื่นสำเนาใบสูติบัตรของลูก ๆ ด้วย (cas échéants, photocopie datant de moins de 3 mois d’acte de naissance de vos enfants)
  • สำเนาใบทะเบียนสมรส เอกสารต้องมีอายุน้อยกว่า 3 เดือน (photocopie datant de moins de 3 mois d’acte de mariage)
  • สำเนาใบจด PACS (ถ้ามี) (photocopie du certificat de PACS si vous avez contracté un PACS)
  • ใบ attestation sur h’honneur ที่ระบุว่าท่านทั้งสองไม่ได้แยกทาง หย่าร้าง หรือไม่ได้อยู่ในระหว่างการหย่าร้าง (attestation sur l’honneur selon laquelle vous n’êtes « ni séparé(e)s de corps, ni divorcé(e)s ni en instance de divorce »)
  • รายละเอียดการเลือกนามสกุลของบุตรบุญธรรม (précisions sur le choix du nom de famille de l’adopté/e)
  • หนังสือยินยอมของบุตรบุญธรรมในการเปลี่ยนนามสกุลและ/หรือชื่อ ในกรณีที่เด็กมีอายุมากกว่า 13 ปี (consentement de changement de nom et/ou de nom si l’adopté/e a plus de 13 ans) หนังสือยินยอมทำขึ้นโดยใช้กระดาษธรรมได้ (consentement peut être fait sur le papier libre)
  • ใบ attestation sur l’honneur ที่ระบุว่าการรับบุตรบุญธรรมไม่ได้ทำขึ้นเพื่อก่อความวุ่นวายในครอบครัว ในกรณีที่ผู้รับบุตรบุญธรรมมีลูก ๆ อยู่แล้ว (attestation sur l’honneur que l’adoption sollicitée n’est pas de nature à compromettre la vie familiale si vous avez déjà un ou plusieurs enfants)
  • หากผู้รับบุตรบุญธรรมมีลูก ต้องได้รับความเห็นจากลูกที่บรรลุนิติภาวะแล้ว (avis des enfants majeurs sur l’adoption) ส่วนลูกที่ยังเป็นผู้เยาว์ ให้ระบุความสัมพันธ์ในครอบครัวระหว่างลูก ๆ กับบุตรบุญธรรม (พี่ หรือ น้อง)

 

*กรณีที่บุตรบุญธรรมแต่งงานหรือจด PACS

  • สำเนาใบทะเบียนสมรสของบุตรบุญธรรม เอกสารต้องมีอายุน้อยกว่า 3 เดือน (photocopie datant de moins de 3 mois d’acte de marriage de l’adulte adopté/e)
  • สำเนาใบจด PACS ของบุตรบุญธรรม (ถ้ามี) (photocopie du certificat de PACS si l’adulte adopté/e a contracté un PACS)
  • สำเนาใบสูติบัตรของคู่สมรสบุตรบุญธรรม เอกสารต้องมีอายุน้อยกว่า 3 เดือน (ถ้ามี) (cas échéant, photocopie datant de moins de 3 mois d’acte de naissance de conjoint/e de l’adopté/e)
  • จดหมายของคู่สมรสที่อาจเป็นแบบแต่งงานหรือแบบจด PACS ของบุตรบุญธรรมที่แสดงให้เห็นว่ารับทราบเกี่ยวกับการรับบุตรบุญธรรม พร้อมแนบสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนทั้งสองหน้า (lettre simple du conjoint ou du partenaire de PACS faisant valoir ses observations sur le projet avec une copie recto-verso (les deux côtés) de son justificatif d’identité)

 

*กรณีที่บุตรบุญธรรมมีลูก

  • สำเนาสูติบัตรของลูกบุตรบุญธรรม (photocopie datant de moins de 3 mois d’acte de naissance des enfants de l’adopté/e)
  • หนังสือยินยอมของลูกบุตรบุญธรรม (หากมีอายุมากกว่า 13 ปี) เกี่ยวกับการเปลี่ยนสกุล (consentement des enfants de l’adopteÃÅ(e) de plus de 13 ans concernant leur changement de nom)
  • ส่งคำขอทางไปรษณีย์แบบลงทะเบียน (lettre recommandée) พร้อมแนบใบตอบรับ (accusé de réception) ไปให้ศาลในเขตที่ท่านอาศัยอยู่ คลิกที่นี่ เพื่อดูที่อยู่ของศาลในเขตของท่าน โดยกรอกรหัสไปรษณีย์
  • ท่านไม่ต้องใช้ทนายในกรณีที่บุตรบุญธรรมมาอยู่อาศัยที่บ้านก่อนอายุครบ 15 ปี
  • ท่านต้องใช้ทนายในการดำเนินการในกรณีที่บุตรบุญธรรมมาอยู่อาศัยที่บ้านหลังอายุครบ 15 ปี
  • หากมีปัญหาเรื่องค่าใช้จ่ายในการดำเนินการทางกฎหมาย ท่านสามาถขอความช่วยเหลือจาก aide juridictionnelle ได้
  • ผลทางกฎหมายในการรับบุตรบุญธรรม
  • บุตรบุญธรรมมีสิทธิและหน้าที่ในครอบครัวใหม่ และยังคงมีความสัมพันธ์กับครอบครัวเก่า
  • ท่านทั้งสองเป็นผู้รับผิดชอบเรื่องอาหารการกินของบุตรบุญธรรม และบุตรบุญธรรมจะกลายเป็นผู้ดูแลอาหารการกินของท่านในอนาคต
  • สกุลของผู้รับบุตรบุญธรรมจะระบุเพิ่มในสกุลของบุตรบุญธรรมหากบุตรให้การยินยอม ไม่เช่นนั้น บุตรบุญธรรมจะคงสกุลของครอบครัวเก่าไว้
  • การรับบุตรบุญธรรมแบบธรรมดาไม่ได้เอื้อให้บุตรบุญธรรมได้รับสัญชาติฝรั่งเศสโดยอัตโนมัติ ต้องยื่นเรื่องขอสัญชาติฝรั่งเศสแทน (naturalisation)
  • บุตรบุญธรรมมีสิทธิ์ในมรดกจากทั้งในครอบครัวเก่าและครอบครัวเก่า แต่ไม่ใช่ทายาทตามกฎหมายของพ่อแม่ผู้รับบุตรบุญธรรม (พวกเขาสามารถตัดสิทธิในกองมรดกได้)
  • ศาลอาจเพิกถอนการรับบุตรบุญธรรมได้ จากเหตุความรุนแรง (เช่น การทารุณ) ทั้งจากคำร้องของบุตรและผู้รับบุตรบุญธรรม
  • หากมีการเพิกถอนการรับบุตรบุญธรรมขึ้นมา ผลทางกฎหมายจะสิ้นสุดลง ยกเว้นชื่อของบุตรบุญธรรมที่เปลี่ยนแล้ว

 

ข้อควรรู้: เอกสารราชการไทยต้องได้รับรองจากกรมการกงสุลก่อนและแปลเป็นภาษาฝรั่งเศสโดยนักแปลที่ได้รับการรับรองโดยศาลอุทธรณ์ประเทศฝรั่งเศส (Expert traducteur assermenté près la Cour d’Appel) หน่วยงานฝรั่งเศสจะปฏิเสธเอกสารที่ได้รับการแปลโดยนักแปลประเภทอื่น ๆ

 

หมายเหตุ: เงื่อนไข รายการเอกสารและขั้นตอนการดำเนินการอาจมีการเปลี่ยนแปลงในแต่ละปี กรุณาติดต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อสอบถามข้อมูล

 

แหล่งอ้างอิง :

Service-Public.fr เว็บไซต์ https://www.service-public.fr/particuliers/vosdroits/N133

 

 

Laisser un commentaire

Votre adresse e-mail ne sera pas publiée. Les champs obligatoires sont indiqués avec *